วันเสาร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ส่งข้อสอบแล้วค่ะ

เชิญอาจารย์ตรวจได้เลยค่ะ และถ้าอาจารย์เข้ามาตรวจแล้วกรุณาให้อาจารย์ส่งข้อความมาบอกด้วยนะค่ะ
 ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ทำข้อสอบ

งานเดี่ยววิชาบริหารการพยาบาลหน่วยการเรียนรู้ที่ 6การสร้างเสริมประสิทธิภาพการบริหารงาน


ข้อ 1 นักศึกษาจงค้นคว้างานวิจัย / วิทยานิพนธ์ ที่เกี่ยวข้องกับ empowerment หรือ motivation ในเชิงการบริหารงานการพยาบาล (50 คะแนน)

1.1 สรุปเป็นบทความเชิงวิชาการ ความยาวไม่เกิน 1 ½ หน้า กระดาษ A4

ตอบ การเสริมสร้างพลังอำนาจในระดับผู้ใต้บังคับบัญชา

มีวัตถุประสงค์ คือเพื่อเปรียบเทียบการได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ ก่อน ระหว่างและหลังจากที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยกับกลุ่มควบคุม โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งในแนวคิดของ คอนเจอร์ และคานูโก (Conger & Kanugo, 1988) และ คานเตอร์ (Kanter, 1997) , แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วย , แบบวัดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามการได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ตามแนวคิดของแฮคแมนและโอลแฮม (Hackman & Oldham, 1980) , แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ ตามแนวคิดของ เฮอร์เบิร์ก (Herzberg , 1959) โดยดำเนินการทดลองคือ ฝึกอบรมเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานและเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับพยาบาลประจำการ หัวหน้าหอผู้ป่วยที่ได้รับการอบรม กระตุ้นและติดตามผลการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับพยาบาลประจำการ หลังจากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัย โดยใช้สถิติ Dependent t–test และ Independent t – test

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลทำให้ได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ พบว่า การได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ ในกลุ่มทดลอง ที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ภายหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จะเห็นได้ว่าโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยมีผลต่อการได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของพยาบาลประจำการ เนื่องจากโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยนั้นมีแนวทางการปฏิบัติด้านการเสริมสร้างพลังอำนาจให้กับพยาบาลประจำการที่ชัดเจน ทำให้พยาบาลประจำการมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน รับผิดชอบงาน ปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลด้านความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการพบว่าความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการในกลุ่มทดลอง ภายหลังที่ได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

และ อธิบายได้ว่าภายหลังได้รับโปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยนั้นพยาบาลประจำการมีความพึงพอใจในงาน จากการเสริมสร้างพลังอำนาจเป็นกระบวนการกระจายอำนาจ เป็นกระบวนการการเสริมสร้างความสามารถของพยาบาลประจำการให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมืออาชีพ สามารถแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้วยตนเอง มีอิสระในการตัดสินใจ

สรุป การใช้โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วยมีผลต่อการได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานและความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการได้เป็นอย่างดี ส่งผลให้พยาบาลประจำการมีการได้รับข้อมูลป้อนกลับและความพึงพอใจในงานมากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการปรับปรุง พัฒนาการทำงาน ส่งเสริมการปฏิบัติงานของบุคลากร เพื่อให้องค์กรสามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

1.2 กรอบแนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในงานวิจัย

ตอบ ใช้กรอบแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจด้านจิตใจแนวคิดของคอนเจอร์ และคานูโก (Conger & Kanugo, 1988) และคานเตอร์ (Kanter, 1997)

1.3 สรุปรายละเอียดเกี่ยวกับทฤษฏีที่ใช้ในงานวิจัย/วิทยานิพนธ์

ตอบ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมการเสริมสร้างพลังอำนาจโดยหัวหน้าหอผู้ป่วย ซึ่งในแนวคิดของ คอนเจอร์ และคานูโก (Conger & Kanugo, 1988) และ คานเตอร์ (Kanter, 1997) , แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจของหัวหน้าหอผู้ป่วย , แบบวัดความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจ และเครื่องมือที่ใช้ประเมินผลการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามการได้รับข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน ตามแนวคิดของแฮคแมนและโอลแฮม (Hackman & Oldham, 1980) , แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาลประจำการ ตามแนวคิดของ เฮอร์เบิร์ก (Herzberg , 1959)



ข้อ 2 นับตั้งแต่วินาทีเป็นต้นไป ถึงสิ้นเทอมปีการศึกษาภาคการเรียนที่ 1 / 2553 นักศึกษาจงวิเคราะห์ตนเองในเรื่องส่วนตัว การศึกษาในเทอมนี้ (25 คะแนน) โดย

2.1 ตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ ที่ต้องการทำให้บรรลุผลสำเร็จ

ตอบ ตั้งเป้าหมายวัตถุประสงค์ ที่ต้องการทำให้บรรลุผลสำเร็จคือ

1) ผลการเรียนอยู่ในระดับดี คือ 2.5 – 3.0 คือ

การที่จะเรียนให้อยู่ในระดับดีได้นั้นต้องมีความรับผิดชอบ คือ ไปเรียนให้ตรงเวลา ส่งงาน ตั้งใจเรียน อ่านหนังสือทบทวนบทเรียนและอ่านเพิ่มเติมจากห้องสมุด ซักถามผู้สอน หากมีข้อสงสัยและตัวนักศึกษาเองก็คิดว่าตนเองสามารถทำได้ในระดับหนึ่ง แต่การที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ได้นั้นก็ต้องมีความสม่ำเสมอในการที่จะศึกษาค้นคว้างาน

2) การแต่งกายถูกระเบียบของทางวิทยาลัย

สามารถแต่งกายได้ถูกระเบียบตามที่วิทยาลัยกำหนด ในบางเรื่องก็ยังไม่สามารถที่จะปฏิบัติตามได้ อาจขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือความพึงพอใจของนักศึกษาเอง

3) อยู่ร่วมสังคมได้อย่างมีความสุข

สามารถปฏิบัติตัวตามกฎ ระเบียบตามที่วิทยาลัยกำหนด มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับทางคณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข สังเกตได้จากการทำงานกลุ่มเกิดความสามัคคีในการทำงานส่งผลให้งานที่ทำออกมาสมบูรณ์ แม้บางครั้งอาจจะบกพร่องแต่ก็ได้พยายามอย่างเต็มความสามารถแล้ว มีการวางตัวที่ดีต่อเพื่อนร่วมงานและอาจารย์ที่วิทยาลัย

2.2 ใช้หลักการในการบริหารเวลาจัดทำตารางการทำงาน การเรียน เพื่อให้บรรลุ

เป้าหมายที่ต้องการ

ตอบ 1. การวางแผนที่ดี คือ มีการจัดเวลาว่าต้องทำอะไร เวลาไหน นานเท่าไร เช่น ถ้าเรามีการวางแผนงานที่ดีเราสามารถที่จะทำงานออกมาได้สมบูรณ์ เพราะมีการจัดเวลาไว้สำหรับงานชิ้นนั้นแล้วว่างานหนึ่งชิ้นจะทำนานเท่าไร โดยการทำงานต้องจัดลำดับความยากง่ายของงานอาจจะแบ่งได้ดังนี้

-งานสำคัญและเร่งด่วน ต้องทำเป็นอันดับแรก

-งานสำคัญแต่ไม่เร่งด่วน ต้องทำเป็นอันดับที่สอง

-งานไม่สำคัญแต่เร่งด่วน ต้องทำเป็นอันดับที่สาม

-งานไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน ต้องทำเป็นอันดับที่สี่

ซึ่งงานแต่ละชิ้นต้องทำให้สำเร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดและสมบูรณ์

2. ความรับผิดชอบ คือ ต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดหรือทำงานตามตารางที่ตนเองได้กำหนดไว้ให้สำเร็จลุล่วงตามที่ได้วางแผนในตารางเรียนและตารางการทำงาน เช่น ในตารางเรียนทำงานมีกำหนดส่งงานวันที่ 22 สิงหาคม 2553 ในรายวิชา การบริหารการพยาบาล ก็ต้องทำให้เสร็จทันเวลาและได้งานที่สมบูรณ์ เป็นต้น

3. ทีการสร้างแรงจูงใจให้กับตนเอง ทั้งด้ายจิตใจคือ ต้องรับรู้ว่าตนเองต้องการอะไร จะทำอย่างไรจึงจะประสบผลสำเร็จ เช่น เมื่อทราบเป้าหมายว่าต้องเรียนให้ได้เกรดดี ก็ต้องตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือบ่อยๆ เป็นต้น และด้านร่างกายคือต้องกระทำสิ่งที่คาดหวังไว้ให้สำเร็จ เช่น เมื่อตั้งใจเรียนและอ่านหนังสือบ่อยๆ ผลสอบออกมาจึงได้เกรดดีตามที่ปรารถนา เป็นต้น

ตารางทำงาน  ตารางเรียน มีดังนี้

วันจันทร์ เรียน 09.00-17.00 น.


วันอังคาร เรียน 09.00-17.00 น.

วันพุธ เรียน 09.00-17.00 น.

วันพฤหัสบดี เรียน 09.00-17.00 น.

วันศุกร์ บางสัปดาห์มีเรียน 09.00-17.00 น. ถ้าไม่มีเรียนจะทำงานให้เสร็จ

ทุกวันหลังจากเวลาเลิกเรียนพัก 3-4 ชม. หลังจากนั้นอ่านหนังสือทบทวนบทเรียนที่เรียนมาและอ่านเพิ่มเติมจากหนังสืออย่างน้อย 2 ชม. ทำการบ้านให้เสร็จ นอน

วันเสาร์-อาทิตย์ พักผ่อน ทำงาน ทบทวนบทเรียน อ่านหนังสือ เล่นเกมส์ นอน



ข้อ 3 จากการที่นักศึกษาขึ้นฝึกปฏิบัติงานที่ตึกผู้ป่วยทุก Area ให้นักศึกษาทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหาขัดแย้ง (conflict) ในเชิงบริหาร 1 สถานการณ์ (25 คะแนน) โดย

3.1 ถ้านักศึกษาดำรงบทบาทหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หัวหน้าตึก หัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และอยู่ในสถานการณ์นั้นๆ นักศึกษาจะแก้ไขสถานการณ์นั้นอย่างไร?

ตอบ สถานการณ์ปัญหาขัดแย้ง (conflict) ที่เกิดขึ้นคือ นาง ก เป็นพยาบาลวิชาชีพ ทำงานตามหน้าที่ของตนเองที่ได้รับผิดชอบ ปฏิบัติงานเรียบร้อย ปฏิบัติงานอย่างจริงจังและเต็มความสามารถ นาง ข เป็นพยาบาลวิชาชีพ ปฏิบัติงานไม่เรียบร้อย มาสาย และในเวลาที่ขึ้นเวรด้วยกัน นาง ก จะได้ทำงานมากกว่านาง ข วันหนึ่ง นาง ก จะลงเวรดึก รอส่งเวรซึ่งต้องส่งเวรให้กับนาง ข นาง ก รอถึง 08.15 น. นาง ก โทรไปหานาง ข เพื่อบอกให้มาขึ้นเวร นาง ข ตอบนาง ก ว่าลืม อีก 15 นาที จะไป นาง ก จึงนำเรื่องไปบอกหัวหน้าตึกและบอกว่าเป็นแบบนี้หลายครั้งแล้ว

หัวหน้าตึกแก้ไขสถานการณ์ โดย

-สังเกตและสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของนาง ข และนาง ก จากทีมสุขภาพบุคคลอื่นๆ

-นิเทศงานที่ถูกต้องแก่ นาง ข ในด้านการทำงาน กฎ ระเบียบ การปฏิบัติตนในการทำงานโดยไม่ตำหนิ

-สร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างนาง ก และ นาง ข เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการประสานงานที่ดี

3.2 นักศึกษาจะหาแนวทางป้องกันไม่ให้สถานการณ์นี้เกิดขึ้นอีกได้อย่างไร?

ตอบ -ตั้งวัตถุประสงค์ในการทำงานร่วมกัน เพื่อให้งานออกมามามีประสิทธิภาพ

-จัดสรรงานอย่างเป็นระบบ แจกแจงงานด้วยความเป็นธรรม โดยยึดถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน

-นิเทศงานที่ถูกต้องก่อนปฏิบัติงานด้วยวาจาที่สุภาพ น่าเชื่อถือ

-แนะนำกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ การปฏิบัติตนในการทำงาน

-สร้างสัมพันธภาพ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและการประสานงานที่ดี

-กระทำตนให้เป็นแบบอย่างในการทำงาน

-อธิบายหน้าที่ ความรับผิดชอบในการทำงาน

-สร้างความสามัคคีในหน่วยงาน